') //-->
โองการอัล-กุรอานหลายโองการได้อธิบายถึงคุณสมบัติของอัล-กุรอานคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งฟากฟ้า ซึ่งบางครั้งได้กล่าวเป็นคำเอกพจน์ และบางครั้งกล่าวเป็นประโยค แต่สิ่งที่จะนำเสนอ ณ ที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะคำที่เป็นเอกพจน์เท่านั้น
นักตัฟซีรและนักปราชญ์ด้านความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอานได้กล่าวถึงจำนวนคุณสมบัติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าชื่อของอัล-กุรอานไว้มากมาย และมีทัศนะแตกต่างกัน บางท่านกล่าวว่าจำนวนชื่อของอัล-กุรอานมีมากกว่า ๙๐ ชื่อ[๑] บางกลุ่มกล่าวว่าชื่อของอัล-กุรอานมีจำนวนจำกัด[๒]
นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องทัศนะ การตีความระหว่างคุณสมบัติของอัล-กุรอานกับชื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ชื่อและคุณสมบัติมีจำนวนแตกต่างกัน ด้้วยเหตุนี้จะเห็นว่ากลุ่มบุคคลจำนวนน้อยนิดได้นำเสนอคำเฉพาะที่นับว่าเป็นชื่อของอัล-กุรอาน เช่น คำว่า กิตาบ กุรอาน ซิกรฺ หรือฟุรกอนเป็นต้น ซึ่งจัดว่าเป็นนามเฉพาะที่รู้จักกัน หรือเป็นนามที่เป็นเอกเทศในทัศนะของพวกเขา ขณะที่มีคำอื่นอีกมากมายที่ใช้เรียกคัมภีร์ศักดิ์แห่งฟากฟ้าเล่มนี้ในฐานะของชื่อหรือคุณสมบัติของอัล-กุรอาน ซึ่งจุดประสงค์ของพวกเขาต้องการจำแนกการใช้ประโยคระหว่างชื่อกับคุณสมบัติเท่านั้น
และในบางครั้งจะเห็นว่าการกล่าวถึงคุณสมบัติบางประการ เช่น ฮุดา เมาอิเซาะฮฺ หรือเราะฮฺมัดไม่ได้เป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะอัล-กุรอานเท่านั้น เพราะอัล-กุรอานกล่าวว่าคำเหล่านี้ก็ใช้เรียกคุณสมบัติคัมภีร์แห่งฟ้าเล่มอื่นด้วยเช่นกัน
คุณสมบัติต่าง ๆ ของอัล-กุรอานที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้มีประเด็นที่แตกต่างกันมากมาย เช่น ความหมาย หรือความหมายตามพจนานุกรม หรือความหมายในทัศนะของนักปราชญ์ การนำคำเหล่านี้ไปใช้กับอัล-กุรอานในความหมายเดียวกัน หรือต่างความหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างคำเหล่านั้นกับคำอื่น รูแบบของคำและความหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องพิจารณาอย่างละเอียดที่ถ้วน และคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นสามารถแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มกล่าวคือ คุณสมบัคิที่เป็นเอกเทศ กับคุณสมบัติที่ตามและท้ายสุดจะขอกล่าวถึงความแตกต่าง ความสัมพันธ์ และประโยชน์ต่าง ๆ
จุดประสงค์ของคุณสมบัติที่เป็นเอกเทศหมายถึง คำที่ที่ถูกใช้กับอัล-กุรอานโดยตรง โดยไม่ต้องอิงอาศัยคำอื่น หรือต้องพึ่งคุณสมบัติอย่างอื่นมาอธิบายประกอบ อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่เป็นเอกเทศไว้ถึง ๔๐ ครั้งด้วยกัน เช่น
คำว่า อัล-กิตาบ ถูกใช้เรียกเป็นชื่อของอัล-กุรอานถึง ๔๗ ครั้งด้วยกัน เช่น
ذَلِكَ الْكِتَابَ لاَ رَيْبَ فِيْهِ هُدَى لِلْمُتَّقِيْن
คัมภีร์นี้ ไม่มีข้อคลางแคลงในนั้น เป็นทางนำสำหรับผู้ยำเกรง[๓]
และโองการอื่นที่กล่าวถึง อัล-กิตาบ ว่าเป็นชื่อหนึ่งของอัล-กุรอาน เช่น อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๑๗๖, ๒๓๑ /อาลิอิมรอน ๗ กล่าวสองครั้ง / อันนิซาอฺ ๑๐๕,๑๑๓,๑๒๗,๑๓๖,๑๔๐ กล่าวสองครั้ง / อัล-มาอิดะฮฺ๔๘ / อันอาม ๑๑๔ /อะอฺรอฟ ๑๙๖ / ยุนุซ ๑,๓๗/ ยุซุฟ ๑ / อัร เราะอฺดุ ๑ / อัล-ฮิจรฺ ๑ /อัน-นะฮฺลิ ๖๔,๘๙ / อัล-กะฮฺฟิ ๑ / มัรยัม ๑๖, ๔๑, ๕๑,๕๔,๕๖ / อัชชุอะรออฺ ๒/ อัล-เกาะซ็อด ๒,๘๖ /อัล อังกะบูต ๔๕,๔๗,๕๑ / ลุกมาน ๒/ อัซซัจดะฮฺ ๒ / ฟาฏิร ๓๑,๓๒/ อัซซุมัร ๑,๒,๔๑/ อัล-มุอฺมิน ๒/ อัช-ชูรอ ๑๗,๕๒/ อัซซุครุฟ ๒/ อัดดุคอน/ ๒ อัล-ญาซียะฮฺ ๒/ อัล-อิฮฺกอฟ ๒.
อีก ๙ ที่ซึ่งพิจารณาจากภายนอกแล้วอาจเป็นไปได้ว่าจุดประสงค์ของคำว่าอัล-กิตาบหมายถึง อัล-กุรอาน เช่น อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๑๒๙,๑๕๑,๑๗๗/ อาลิอิมรอน ๑๑๙,๑๖๔/ อัล-อะอฺรอฟ ๑๗๐/ อัล-อะฮฺซาบ ๖/ อัล-มุอฺมิน ๗๐/ อัล-ญุมุอะฮฺ ๒,
สามที่ใช้คำว่า กิตาบุลลอฮฺ เช่น อัล-อังฟาล ๕๗/ อัล-อะฮฺซาบ ๖/ ฟาฏิร ๒๙, และอาจเป็นไปได้ว่าจุดประสงค์ของคำว่า กิตาบุลลอฮฺในโองการที่ ๓๖ ซูเราะฮฺเตาบะฮฺหมายถึง อัล-กุรอาน
ส่วนอีกที่หนึ่งโองการที่ ๒๗ / อัลกะฮฺฟิ กล่าาว่าจุดประสงค์ของคำว่า กิตาบุ ร็อบบุกะ หมายถึงอัล-กุรอานนั้นเอง
และมี ๑๖ ที่คำว่า กิตาบ ถูกใช้ในฐานะของคำนามที่เป็นนักกิเราะฮฺ ซึ่งหมายถึงชื่อของอัล-กุรอาน เช่น อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๘๙/ อ้ล-มาอิดะฮฺ ๑๕ / อันอาม ๙๒,๑๕๕/ อัล-อะอฺรอฟ ๒,๕๒ /ฮูด ๑ / อิบรอฮีม ๑ / อัน-นัมลิ ๑ / ซ็อด ๒๙ / อัล-ฟุซซิลัต ๓,๔๑ / อิฮฺกอฟ ๑๒,๓๐ / อัมบิยาอฺ ๑๐ / อัซ-ซุมัร ๒๓,
ซูเราะฮฺ ฟุซซิลัต โองการที่ ๔๑ ได้ใช้คำว่า อะซีซ เรียกอัล-กุรอาน ส่วนซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ โองการที่ ๑๕ และซูเราะฮฺ อัน นัมลิ โองการที่ ๑ ใช้คำว่า มุบีน เรียกอัล-กุรอาน
ซูเราะฮฺ บัยยินะฮฺ โองการที่ ๓ ใช็คำว่า กุตุบ (พหูพจน์ของคำว่ากิตาบ) เรียกอัล-กุรอาน เช่น กล่าวว่า { فِيْهَا كتب فيمة} ในคัมภีร์นั้นมีบัญญัติอันเที่ยงตรง
คำว่า กิตาบ ในเชิงภาษาอาหรับเป็นมัซดัร (รากของคำ) หมายถึงการรวบรวม การบันทึก แต่ส่วนมากที่นำไปใช้หมายถึง การเขียน หรือการเขียนไว้แล้ว (ใช้ในฐานะที่เป็นกรรมของประโยค) ซึ่งจุดประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ทรงใช้คำว่า กิตาบ ในอัล-กุรอานหมายถึงสิ่งที่ได้ถูกเขียนไว้แล้ว
ตรงนี้อาจมีคำถามว่า คุณสมบัติดังกล่าว (กิตาบ) ที่ถูกใช้เรียกอัล-กุรอานมีความเหมาะสมอย่างไร หลังจากโองการต่าง ๆ ถูกบันทึกไว้หมดแล้วคำนี้ยังถูกใช้เรียกอัล-กุรอานอีกหรือไม่ หรือก่อนหน้านั้น ซึ่งอัล-กุรอานยังไม่ได้ถูกบันทึกแล้วจะใช้คำว่า กิตาบ (หมายถึงสิ่งที่ได้ถูกเขียนไว้แล้ว) เรียกอัล-กุรอานได้อย่างไร มีหลายทัศนะ เช่น
- ทัศนะที่ ๑ บรรดานักตัฟซีรและนักปราชญ์ด้านความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอานมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ บางคนกล่าวว่า การใช้คำว่า กิตาบ เรียกอัล-กุรอานเป็นการใช้ที่ถูกต้องเป็นจริง พวกเขากล่าวว่า โองการต่าง ๆ ที่มีคำว่า กิตาบ ซึ่งให้ความหมายว่าเป็นอัล-กุรอาน หมายถึงช่วงเวลาที่โองการนั้นถูกประทานลงมามีบางส่วนของโองการได้ถูกบันทึกไว้แล้ว ด้วยเหตุนี้คำว่า กิตาบ จึงถูกใช้เรียกอัล-กุรอาน
ทัศนะดังกล่าวถ้าหากพิจารณาตามริวายะฮฺ ที่กล่าวถึงการประทานซูเราะฮฺลงมาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ซึ่งซัรกะชียฺได้กล่าวว่าเป็นริวายะฮฺที่เชื่อได้ถือว่าเข้ากัน เนื่องจากคำพูดดังกล่าว หากนำไปเทียบเคียงกับอัล-กุรอานซูเราะฮฺบัยยินะฮฺ โองการที่ ๓ (ในคัมภีร์นั้นมีบัญญัติอันเที่ยงตรง) ซึ่งกล่าวถึงแผ่นบันทึกแห่งฟากฟ้า (เลาฮินมะฮฺฟูซ) เป็นโองการแรกที่ใช้คำว่า กิตาบ เรียกอัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ ซ็อด โองการที ๒๙ (คัมภีร์ -อัลกุรอาน- เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาอายาตต่าง ๆ ของอัล-กุรอาน และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ) ซึ่งหลังจากประทานลงมาแล้ว ยังมีอัล-กุรอานมากกว่า ๓๕ ซูเราะฮฺถูกประทานตามลงมาภายหลัง เป็นธรรมดาที่ว่าบรรดามุสลิมในยุคนั้นได้ท่องจำและจดบันทึกโองการต่าง ๆ ที่ถูกประทานลงมาก่อนนั้น แต่คำพูดเช่นนี้ถือเป็นหลักฐานอ้างอิงไม่ได้ หรือถ้ายอมรับว่าสิ่งนี้เป็นเหตุผล นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า การใช้คำว่า กิตาบ เรียกอัล-กุรอานเป็นเพราะว่ามีบางส่วนของโองการถุกบันทึกไว้แล้ว
- ทัศนะที ๒ บางกลุ่มเชื่อว่าการใช้คำในลักษณะเช่นนี้เป็นการใช้ที่ไม่เป็นจริง แต่ต้องการสื่อความหมายว่าในอนาคตคงจะมีการจดบันทึกแน่นอน หรือต้องบันอย่างแน่นอน จึงได้ใช้คำนี้เรียกอัล-กุรอาน[๔]
ทัศนะดังกล่าวเนื่องจากขัดแย้งกับความเป็นจริงภายนอก และเป็นคำพูดที่ำไม่มีเหตุผลจึงไม่อาจยอมรับได้
- ทัศนะที่ ๓ สามารถกล่าวได้ว่าความหมายของ กิตาบ หมายถึง การเขียน หรือบันทึกหมายถึง สิ่งที่มีคุณค่าแก่การบันทึก เหมือนกับอัล-กุรอานอาน ในความหมายหนึ่งหมายถึง การอ่าน หมายถึงสิ่งที่มีคุณค่าแก่การอ่าน อิลาฮุน หมายถึงการเคารพภักดี หมายถึงสิ่งที่คู่ควรแก่การเคารพภักดี
การอธิบายเช่นนี้ทำให้จุดประสงค์ของ การเคารพภักดีเป็นที่ประจักษ์ชัดยิ่งขึ้นว่าความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี นั้นหมายถึงสิ่งนั้นคู่ควรต่อการเคารพภักดีต่างหาก เราจึงได้แสดงความเคารพภักดี ไม่ได้หมายความว่าเป็นการเคารพภักดีในทุกรูปแบบ
การใช้คำว่า กิตาบ เรียกอัล-กุรอานสามารถกล่าวได้อีกลักษณะหนึ่งคือ จุดประสงค์ของการเขียน หมายถึง การเขียน หรือการบันทึกไว้ในเลาฮินมะฮฺฟูซ หรือบันทึกไว้ในคัมภีร์น้น แต่การบันทึกจะบันทึกอย่างไรนั้น ต้องรู้จักฐานะภาพของเลาฮินมะฮฺฟูซก่อนว่าเป็นอย่างไร
คำว่าซุฮุฟ ถูกใช้เรียกอัล-กุรอาน ๒ ครั้ง กล่าวคือ
ครั้งที่ ๑ ซูเราะฮฺ อะบะซะ โองการที่ ๑๓ กล่าวว่า {في صحف كمرمة مرفوعة مطهرة}
ซึ่งอยู่ในคัมภีร์อันทรงเกียรติ ที่ได้รับการเทิดทูน ได้รับความบริสุทธิ์[๕]
ซึ่งคำว่า ซุฮุฟ ในที่นี้หมายถึงอัล-กุรอานนั้นเอง
ครั้งที่ ๒ ซูเราะฮฺ บัยยินะฮฺ โองการที่ ๒ กล่าวว่า {رسول من الله يتلوا صحفاً مطهرة}
เป็นเราะซูลคนหนึ่งจากอัลลอฮฺเพื่ออ่านคัมภีร์อันบริสุทธิ์[๖]
ซึ่งคำว่า ซุฮุฟ ในที่นี้ได้ถูกใช้เรียกบางส่วนของอัล-กุรอาน
คำว่า ซุฮุฟ เป็นพหูพจน์ของคำว่า เซาะฮีฟะฮฺ ซึ่งคำนี้หมายถึง สิ่งหนึ่งที่มีความกว้าง แต่ในที่นี้ความหมายที่ใกล้เคียงที่สุดคือ กิตาบ ส่วนจุดประสงค์ของรัศมีที่เรืองรองรายรอบนั้น หมายถึงวะฮฺยูที่ได้ถูกบันทึกอยู่บนนั้น รัศมีที่เรืองรอง และการบันทึกไว้บนนั้นจะทำอย่างไรไม่เป็นที่ชัดเจนสำหรับพวกเรา
๔/๕. ฮะดีซและอะฮฺซะนุลฮะดีซ
คำว่า ฮะดีซ ถูกใช้เรียกอัล-กุรอาน ๔ ครั้ง ดังกล่าวว่า
فليأتوا بحديث مثله ان كانوا صادقا
ดังนั้น พวกเขาจงนำคำกล่าวเช่นเดียวกันนี้มา หากพวกเขาเป็นผู้สัตย์จริง[๗]
ส่วนอีก ๓ ครั้งที่อัล-กุรอานได้ใช้คำนี้เีรียกอัล-กุรอานคือ ซูเราะฮฺ อัล-กะฮฺฟฺ โองการที่ ๖ / อัล-วากิอะฮฺ ๘๑ / และอัล-เกาะลัม ๔๔
อาจเป็นไปได้ว่าจุดประสงค์ของฮะดีซในซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ ๑๘๕ / และอัล-มุรเซาะลาต ๕๐ ว่าหมายถึงอัล-กุรอาน ส่วนคำว่า อะฮฺซะนุลฮะดีซ ถูกใช้ในอัล-กุรอานซูเราะฮฺ อัซซุมัร โองการที ๒๓ เพียงครั้งเดียว
คำว่า ฮะดีซ ถูกใช้ใน ๒ ความหมายด้วยกันกล่าวคือ หมายถึง สิ่งใหม่ ๆ หรือใหม่ และหมายถึง คำพูด แม้ว่ารากเดิมของความหมายจะหมายถึง สิ่งใหม่ ๆ ก็ตาม แต่ในที่นี้ ฮะดีซ ที่ถูกใช้เรียกอัล-กุรอาน หมายคำพูด ส่วน อะฮฺซะนุลฮะดีซ หมายถึง คำพูดที่ดีที่สุด
[๑]ซัรกะชียฺ บัดรุดดีนมุฮัมมัด อัลบุรฮานฟี อุลูมิลกุรอาน พิมพ์ครั้งที่ ๑ ดารุลฟิกรฺ เบรุต ๑๔๐๘ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๔๓
[๒]ฏูซียฺ อะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด อัตติบยาน อัลญามิอฺ ลิอุลูมิลกุรอาน พิมพ์ครั้งที่ ๑ มักตะบุลอิอฺลามิลอิสลาม กุม ๑๔๐๙ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๗-๑๙
[๓]อัล-บะเกาะเราะฮฺ / ๒
[๔]อาลุซียฺ , ชะฮาบุดดีน ซัยยิดมะฮฺมูด, รูอุลมะอานีฟีตัฟซีริลกุรอาน อัลอะซีม วัซับอุลมะซานี พิมพ์ครั้งที่ ๑ ดารุลฟิกรฺ เบรูต ๑๔๐๘ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๖
[๕]อะบะซะ / ๑๓
[๖]อัล-บัยยินะฮฺ / ๒
[๗]อัฏฏูร / ๓๔